วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุปงานทั้งหมด

งานที่อาจารย์สั่ง

1. หนังสือปริศนาคำทาย (บึ่งบึ๊ง คือ อะไร)



2. บัครคำตัวอักษร (ม)



3. อะไร เป็น เครื่องใช้ ไฟฟ้า




4.คลิปเด็ก (คู่ 2  คน)  น้องอาร์ม



5. คลิปเด็ก (กลุ่ม) น้องอาร์ม

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ครั้งที่ 15  วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

- อาจารย์สอนร้องเพลง ก-ฮ

- อาจารย์นัดสอบร้องเพลง ก-ฮ

- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 4-5 คน ทำกิจกรรมตามพยัญชนะที่ได้รับมอบหมาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ครั้งที่ 14  วันพฤหัสบดีที่ 23  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้ออกมานำเสนองานที่ไปได้รับมอบหมาย และอาจารย์ได้ชี้แนะเพิ่มเติม ว่าเราควรต้องปรับปรุงอย่างไรบ้าง

- อาจารย์นำ หนังสือ/สมุดกิจกรรม มาใหดูเป็นตัวอย่าง

- อาจารย์ให้ส่งงานทั้งหมดในคาบเรียนหน้า

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

ครั้งที่ 13  วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

- อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้วาดรูป คนละ 1 รูป



- อาจารย์ให้ออกมายืนหน้าชั้นเรียน ครั้งละ 8 คน แล้วเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับภาพที่วาดโดยให้สัมพันธ์กัน

 * การให้เด็กเล่าเรื่องโดยไม่มีการวางแผน การเล่าเรื่องนั้นจะยังไม่ค่อยราบรื่น แต่เมื่อเขาได้ทำบ่อยๆ
      เขาก็จะเกิดความมั่นใจ

 * กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมในเรื่อง 1. การใช้ภาษา

                                                   2. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

                                                   3. เด็กได้กล้าแสดงออก

 * กิจกรรมนี้ผู้สอนให้ความสำคัญกับผู้เรียนมาก เพราะผู้เรียนได้แสดงความคิด  ได้สร้างผลงานของตน
      เอง  โดนที่ครูไปไปชี้นำหรือสกัดกั้น

- การมีประสบการณ์ทำให้มีโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น

- การเรียนรู้ 1 ครั้ง ทำให้เกิดการเรียนรู้ หลายๆครั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นความรู้
   ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการแสดงออก

- เด็กใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร เพื่อแสดงออกถึงความคิดหรือความรู้สึกและความหมาย

- ลักษณะหรือเนื้อหาของภาษา จะต้องมีความเฉพาะ เช่น ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ และความ
  สัมพันธ์

- อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้เขียนคำหรือประโยคแล้วให้เพื่อนทาย



- อาจารย์ให้พูดชื่อตัวเอง พร้อมทำท่าทางประกอบจำนวนพยางค์ของชื่อ แล้วพูดชื่อเพื่อนแล้วต่อด้วย
  ชื่อตัวเองพร้อมทำท่าประกอบจำนวนพยางค์

* กิจกรรมนี้ช่วยในการแยกแยะคำ แยกแยะพยางค์ แยกแยะน้ำเสียง เป็นวิธีการเพิ่มประสบการณ์อีกวิธี
      หนึ่ง

- รูปแบบของภาษา 1. สระ 2. พยัญชนะ 3. วรรณยุกต์





         1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  

( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )
 
2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ  
( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )
 
3.อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น  
- อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
(พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
 
- อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล  
( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )




- อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ทำหนังสือ สระ + พยัญชนะ




- อาจารย์แจกกระดาษ A4 1 แผ่น แล้วแบ่งให้ได้ 4 คน โดยแบ่งกระดาษที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนบนสำหรับวาดภาพ
  2. ส่วนล่างให้แบ่งช่องไว้สำหรับเขียนตัวหนังสือ แล้วออกมาอ่านให้เพื่อนฟัง


     * การแบ่งช่องเราควรแบ่งให้แต่ละช่องนั้นเท่าๆกัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ครั้งที่ 12  วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

- การทำหนังสือภาพ

  1. เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กได้มีประสบการณ์ทางภาษา
   
      * ความคิดรวบยอด คือ  การนำสิ่งที่อ่านผ่านมาทั้งหมด มาสรุปเป็นเรื่องเดียว
   
      * ภาษา คือ เครื่องมือในการสื่อสารหรือสื่อความหมายและแสดงความคิดรวบยอด

  2. คำว่า " อะไร" เผ็นคำถามที่ผันเปลี่ยน

- การสร้างภาพปริศนาคำทาย

   1. เลือกและกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย

   2. วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด

   3. เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะที่ของหลายๆสิ่งมีลักษณะเช่นนั้น

   4. นำมาจัดเรียงลำดับ

   5. แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ


  งานที่ได้รับมอบหมาย

   1. แบ่งกลุ่มละ 4 คน ทำหนังสือภาพและภาพปริศนาคำทาย






 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

ครั้งที่ 11  วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


   ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ไปอบรม

* หมายเหตุ ชดเชยการเรียนการสอนโดยการทำงานหนังสือภาพ และภาพปริศนาคำทาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

ครั้งที่ 10  วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

- ดูหนังสือนิทานจาก E - ฺbook เรื่อง แม่ไก่แดง

- การทำหนังสือนิทานจาก E - book
 
  1. สีต้องมองเห็นชัดเจน

  2. ใช้คำซ้ำๆ เพราะเด็กจะได้จำได้

  3. ต้องให้ภาพสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง

- ความแตกต่างของการเล่านิทาน

  1. การเล่านิทานโดยครูเป็นผู้เล่าเอง

      - ได้สื่อสารกับเด็กได้โยตรง

      - ไม่ปิดกั้นความคิด

      - ได้แสดงความรู้สึก
 
     ข้อจำกัด คือ ครูไม่ว่างพอที่จะเล่านิทานให้เด็กฟังตลอดเวลาที่เขาอยากฟัง

  2. การเล่านิทานโดยใช้โปรแกรมอิเล็กทรอนิคส์

      - เป็นการสื่อสารได้ทางเดียว

      - สามารถเปิดได้ตลอดเวลาที่เด็กต้องการฟัง 

- คำถามที่ดี คือ ทำไม อย่างไร เพราะอะไร แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของอิสระ

- การถามเกี่ยวกับความจำได้ แต่อย่าทั้งหมด

- ประมวลความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ครูควรรู้มีอะไรบ้าง